วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความเร็วและหน่วยความจำ ซีพียู

ความเร็วซีพียู
ซีพียูเป็นสมองคอมพิวเตอร์ใช้ในการประมวลผลคำสั่งเครื่องจากซอฟต์แวร์ซึ่งมีความสำคัญที่สุดบรรดาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยที่ความเร็วจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของซีพียูสำหรับความเร็วของซีพียูจะเกิดจากการทำงานตามความถี่สัญญาณนาฬิกามีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ทหมายถึง1รอบ/วินาที
แสดงสัญญาณนาฬิกา

ซึ่งปัจจุบันความเร็วของซีพีย 4GHz  ส่วนองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความเร็วในการทำงานของซีพียูคือความเร็วบัส (Front Side Bus) คือความเร็วของสัญญาณนาฬิกาภายนอกที่ซีพียู
 ทำงานด้วย คูณกับตัวคูณด้านเทคนิคที่ผู้ผลิตกำหนดมาดังสมการ
 ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพียู = ความเร็วบัส x ตัวคูณความถี่
  ความเร็วบัส ( Front Side Bus)
  ความเร็วระบบบัสหรือ FSB เป็นความเร็วของระบบ ที่ซีพียูใช้ในการติดต่อกับอุปกรณ์ที่อยู่ภาย นอกเช่น แรม  แต่เดิมความเร็วบัสจะมีเพียง 66 MHz และได้มีการพัฒนาให้เร็วขึ้นเพื่อรองรับความเร็วพียูที่เพิ่มขึ้นเป็น 100, 133, 166, 200, 233 และ 266 MHz ในปัจจุบัน ซีพียูในปัจจุบันใช้เทคนิคการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้กับระบบบัสซึ่งอยู่ในตัวซีพียูเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานให้กับตัวเองเช่น Intel ใช้เทคโนโลยี Quad Pumped เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลในบัสภายในเป็น 4 เท่าส่วน AMD ใช้เทคโนโลยี Double Data Rate เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลในบัสภายใน
  ตัวคูณความถี่ (Frequency Multiple)
  ตัวคูณความถี่ หรือตัวคูณเป็นเทคนิคของบริษัทของผู้ผลิตที่ทำให้ซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นซึ่งในซีพียูรุ่นแรกจะทำงานด้วยความถี่เท่ากับ FSB ต่อมาได้มีการพัฒนาให้ซีพียูมีความเร็วสูงขึ้นด้วยการเพิ่มตัวคูณไว้ในซีพียู ซึ่งปัจจุบันมีการเพิ่มตัวคูณไว้ถึงกว่า 20 เท่าจึงทำให้ซีพียูมีความเร็วสูงขึ้นไปเกือบ 4 GHz เช่นตามสูตรเมื่อรู้ความเร็วบัสและตัวคูณของซีพียู ก็จะทำให้สามารถทราบความเร็วใน การทำงานของซีพียูยกตัวอย่างเช่นซีพียู Intel Pentium 4 รุ่นความเร็วบัส 200 MHz มีตัวคูณ 18 ก็จะมีความเร็ว 3.6 GHz เป็นต้น นอกจากนี้ตัวคูณก็ยังมีความสำคัญต่อการทำโอเวอร์คล็อกซีพียูรุ่นที่ สามารถเปลี่ยนแปลง (หรือปลดล็อก) ตัวคูณให้สูงขึ้น ซึ้งจะทำให้ซีพียูมีความเร็วสูงขึ้นโดยซีพียูของIntel และ AMD


http://www.vcharkarn.com/vblog/38403/3




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น